องค์กร เป็นส่วนหนึ่งของการปล่อย Carbon footprint
เผยแพร่ : 24 กุมภาพันธ์ 2568
เผยแพร่ : 24 กุมภาพันธ์ 2568
carbon footprint (คาร์บอนฟุตฟรินต์) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่มักจะปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะการใช้พลังงาน การเดินทาง การผลิตสินค้าหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
ทำให้เห็นว่า carbon footprint เป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมิน ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ว่ามีปริมาณเท่าไหร่
Carbon Footprint ขององค์กร
Carbon Footprint of Organization หรือ CFO คือ ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือหน่วยงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้ง การใช้ไฟฟ้า การปล่อยจากกระบวนการซัพพลายเชน การจัดการของเสีย การขนส่ง และการใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กร โดยแสดงผลในเชิงปริมาณตัน หรือกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
Carbon Footprint ขององค์กรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก (Scopes):
Scope 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การใช้เชื้อเพลิงในโรงงาน หรือยานพาหนะขององค์กร
Scope 2: การปล่อยก๊าซทางอ้อมจากการใช้พลังงาน เช่น ไฟฟ้าที่ซื้อมาใช้จากภายนอก ทั้งพลังงานความร้อน
และพลังงานไอน้ำ
Scope 3: การปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน เช่น การขนส่งวัตถุดิบ การเดินทางของพนักงาน หรือการกำจัดของเสีย
วิธีการลด carbon footprint
• ใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์
• ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต
• ลดของเสีย และเพิ่มการรีไซเคิล
• ส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้า
• ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ที่มีแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
โดยหลายองค์กรให้ความสำคัญกับ Carbon Footprint เพราะเกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (sustainability) และยังช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.dittothailand.com/dittonews/carbon-footprint/